Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
สถานะการคลัง/งบประมาณ
แผนพัฒนาท้องถิ่น
อำนาจหน้าที่
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
ข่าวสารตำบล
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
จดหมายข่าว
ประกาศ อบต.คลองวัว
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2563
ITA ปี พ.ศ. 2564
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ปฏิทินกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
กฎหมายและระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พระราชบัญญัติ หรือ พระราชกฤษฎีกา
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
ข้อบัญญัติ
รายรับรายจ่าย
รายงานการประชุม
เว็บบอร์ด
ถาม-ตอบ (Q&A)
ข้อเสนอแนะ ติชม
รับเรื่องราวร้องทุกข์
เว็บบอร์ดเครือข่าย
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่
คู่มือประชาชน
นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น
นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น

1.นโยบายเศรษฐกิจ
          - เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
          - การรักษาระเบียบวินัยทางการเงิน การคลัง ให้เป็นไปโดยความถูกต้อง รัดกุม และเหมาะสม
          - ปรับลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และนำงบประมาณที่ปรับลดไปจัดทำโครงการที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ
          - ปรับปรุงและเร่งรัดการจัดเก็บภาษีให้ครอบคลุม ทั่วถึง และเป็นธรรม
          - มีส่วนร่วมในการส่งเสริมอาชีพให้เกิดรายได้ของประชาชน
    
2. นโยบายการสร้างรายได้
          -ให้การสนับสนุนและผลักดันให้มีกระบวนการสร้างรายได้ให้กับประชาชนทุกระดับ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐบาล และภาคเอกชน ที่ขอความร่วมมือกับท้องถิ่น
          - ส่งเสริม ด้านการเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม ด้านการบริการและการท่องเที่ยว ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐบาล และภาคเอกชน ที่ขอความร่วมมือกับท้องถิ่น 
    
3. นโยบายด้านการคมนาคม
          - ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
          - ประสานงานในการพัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมให้ทั่วถึง เพื่อประโยชน์ในการรับและส่งสารสนเทศและความรู้ไปสู่ประชาชน
          - มีส่วนร่วมในการปรับปรุงและพัฒนาระบบคมนาคมให้เชื่อมต่อกันระหว่างตำบลอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย
          - สร้างความร่วมมือกับประชาชน เพื่อการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และความปลอดภัยในการคมนาคม
   
4. นโยบายการพัฒนาแรงงาน
          - ส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อเพิ่มคุณภาพแรงงานและยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยประสานงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่จะสนับสนุนมาตรการด้านต่างๆเพื่อให้การพัฒนาทักษะและฝีมิแรงงานสามารถตอบสนองความต้องการของแต่ละชุมชนได้อย่างเหมาะสมเพื่อลดปัญหาการว่างงาน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้น
  
5. นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          - บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติแบบบูรณาการโดยยึดหลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของประชาชน
          - ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในการควบคุมและกำจัดมลภาวะที่มีผลต่อสุขภาพ สวัสดิภาพ และตคุณภาพชีวิตของประชาชน
    
6. นโยบายด้านเสริมสร้างสังคมเข้มแข็ง
     พัฒนาคนให้สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจและสติปัญญารวมทั้งเสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็งและยั่งยืนเพื่อให้ประเทศไทยเป็นสังคมคุณภาพ สังคมคุณธรรม และสังคมที่สมดุล
     6.1 ด้านสาธารณสุขและสุขภาพ
     เป็นการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุข
          - ส่งเสริมด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเพื่อนำไปใช้ในระบบบริการสุขภาพอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย
          - จัดระบบการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย การป้องกันอุบัติเหตุและอุบัติภัย การควบคุมการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยเอดส์และดูแลผู้ป่วยเอดส์อย่างเหมาะสมพร้อมกับสนับสนุนการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพเร่งรัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การกีฬา และสนับสนุนให้เกิดองค์กรเครือข่ายควบคุมป้องกันโรคในทุกระดับ
     6.2 ด้านกีฬา
     เป็นการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานส่งเสริมด้านการกีฬาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
          - ส่งเสริมกิจกรรมกีฬาระดับชุมชนและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสุขภาพโดยสนับสนุนบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการกีฬาของตำบล
     6.3 ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
     เป็นการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          - ด้านการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้เสพยาเสพติดโดยให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถเข้ารับการบำบัดและฟื้นฟูสภาพได้ทันทีโดยไม่มีความผิดทางกฎหมายพร้อมกันนี้จะจัดให้มีระบบการบริการบำบัดและฟื้นฟู การฝึกอบรมด้านอาชีพ และการปรับสภาพแวดล้อมให้แก่ผู้เสพยาเสพติดอย่างทั่วถึง เพื่อให้ผู้เสพสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างปกติสุข
     6.4 ด้านครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ
     เป็นการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเป็นนโยบายในการสร้างครอบครัวให้อบอุ่นและเข้มแข็งเป็นหน่วยพื้นฐานในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและเป็นภูมิคุ้มกันจากปัญหาสังคมแก่สมาชิกทุกวัยในครอบครัว ดังนี้
          1.ร่วมจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในชุมชนเพื่อให้คำปรึกษาและบริการต่างๆเกี่ยวกับครอบครัว ทั้งด้านสุขภาพ และการวางแผนและแก้ไขปัญหาครอบครัว
          2.สนับสนุนให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานในชุมชน
          3.สอดส่องดูแลต่อผู้กระทำผิดที่ละเมิดสิทธิเด็กและกระทำทารุณกรรมต่อเด็กในทุกด้าน
          4.ร่วมส่งเสริมสิทธิ สถานภาพและบทบาทสตรี การพัฒนาศักยภาพของสตรีให้สามารถมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการพัฒนาชุมชนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
          5.ยกย่องผู้สูงอายุโดยการสร้างโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ พัฒนาบริการสุขภาพอนามัย รวมทั้งนำประสบการณ์และภูมิปัญญาของผู้สูงอายุมาช่วยในการพัฒนาสังคม
     6.5 ด้านการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส
          1.ให้การสงเคราะห์และสนับสนุนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมแก่ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
          2. สนับสนุนองค์กรสาธารณกุศลเพื่อการบรรเทาสาธารณภัย และสงเคราะห์ผู้ประสบภัยในระดับชาติและในระดับชุมชน 
   
7. นโยบายการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
     7.1 ด้านการศึกษา
          - เตรียมความพร้อมการจัดการศึกษา ในการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
          - ส่งเสริมให้เกิดบูรณาการทางการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและกีฬา ในการให้การศึกษาอบรมแก่เด็กและเยาวชน
          - มีส่วนร่วมในการปฏิรูปการเรียนรู้โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักการเรียนรู้ด้วยตนเองและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นพลังความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนิสัยรักการอ่าน ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และสื่อการเรียนรู้ประเภทต่างๆอย่างทั่วถึง
     7.2 ด้านการศาสนา
          - ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาศาสนสถานให้สะอาด ร่มเย็น สงบสุข เพื่อให้เป็นประโยชน์ด้านจิตใจต่อชุมชน
          - สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาศาสนธรรม และร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนามากขึ้นโดยเฉพาะกับสมาชิกในครอบครัว
          - เอื้อให้ศาสนิกชนต่างศาสนาร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อความสมานฉันท์
     7.3 ด้านวัฒนธรรม
          - ส่งเสริมให้นักเรียนอนุรักษ์ เผยแพร่ และสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย
          -พัฒนาแหล่งวัฒนธรรม ศิลปวัตถุ และโบราณสถาน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้
          -ประสานให้ประชาชนและเยาวชนมีบทบาทและกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกับสถานศึกษาครอบครัว และชุมชน
     
8. นโยบายความปลอดภัยของประชาชน
     ดำเนินการร่วมกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          - ดูแลให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมุ่งเน้นมาตรการทั้งการป้องกันและการปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภทพร้อมทั้งจัดระบบป้องกันสาธารณภัยและอุบัติภัยอย่างมีประสิทธิภาพทั่วถึงและทันท่วงที
          - สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมและสาธารณภัยในชุมชน
   
9. นโยบายการบริหารราชการท้องถิ่น
     การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของประชาชน มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงาน สร้างความโปร่งใส และการให้บริการประชาชน เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม ดังนี้
          - ส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการบริหารราชการ เพื่อวางแนวทางดำเนินการให้ชัดเจนและต่อเนื่อง
          - ปรับกระบวนการบริหารราชการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการข้อมูลข่าวสารอย่างกว้างขวาง รวดเร็ว และเท่าเทียมกัน ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร
          - เร่งพัฒนาคุณภาพของพนักงานส่วนตำบล ให้มีทัศนคติที่เอื้อต่องานบริการประชาชน รวมทั้งทบทวนกฎหมาย ระเบียบ ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติงาน เพื่อให้การบริหารราชการมีความยืดหยุ่นมีประสิทธิผล โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีการประเมินผลที่เป็นระบบและเป็นธรรม
          - ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่น
          - ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองจากส่วนกลางลงสู่ท้องถิ่น
          - ร่วมส่งเสริมให้ประชาชนและองค์กรเอกชนมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งจัดให้มีการตรวจสอบและประเมินผลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่กระบวนการตัดสินใจ การกำหนดนโยบาย การจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น
          - ดำเนินมาตรการลงโทษทั้งทางวินัย ทางปกครอง ทางแพ่ง ทางอาญาและทางภาษี อย่างเด็ดขาด รวดเร็ว และเป็นธรรมแก่ผู้ทุจริตหรือมีส่วนปกป้องผู้ทุจริต
          - ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้มาตรการระงับข้อพิพาทนอกเหนือจากการระงับข้อพิพาทโดยศาล เพื่อให้เป็นเครื่องมือของประชาชน ผู้บริโภค ผู้ด้อยโอกาส และผู้เสียเปรียบ ให้มีโอกาสเข้าถึงและได้ใช้ประโยชน์ในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของตนเองมากขึ้น
          - ส่งเสริมให้ชุมชน ประชาชน และเครือข่ายองค์กรประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในการะบวนการยุติธรรม


องค์การบริหารส่วนตำบลคลองวัว
79/4 หมู่ 2 ตำบลคลองวัว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง 14000
โทรศัพท์ : 0-3586-5317 โทรสาร : 0-3586-5317 อีเมล์ : admin@khlongwau.go.th


www.khlongwua.go.th